เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โพชฺฌงฺคา ได้แก่ ธรรม 7 ประการ อันเป็นองค์คุณ
ของสัตว์ผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่ง
ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้อันเป็นเหตุออกจากวัฏฏะ หรือทำให้แจ้ง
สัจจะ 4 ของสัตว์ผู้ตรัสรู้นั้น. บทว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่า
โพชฌงค์ ด้วยอรรถว่ากระไร ? ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะองค์แห่ง
ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ตาม. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น
องค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้พร้อม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น
ไปพร้อม ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้. ก็บท (ว่าโพชฌงค์) นี้ ท่านจำแนก
ไว้แล้วด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทนี้ว่า ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ ย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่ ดังนี้ ท่านกล่าวถึงภูมิพร้อมด้วยกิจ ตามความเป็นจริง แห่ง

โพชฌงค์. ก็ภูมินี้นั้นมี 4 อย่าง คือวิปัสสนา 1 ฌานที่เป็นบาท
แห่งวิปัสสนา 1 มรรค ผล 1 ใน 4 อย่างนั้น ในเวลาที่เกิดใน
วิปัสสนา โพชฌงค์ จัดเป็นกามวจร. ในเวลาที่เกิดในฌานอันเป็น
บาทของวิปัสสนา โพชฌงค์ เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. ในเวลา
ที่เกิดในมรรคและผล โพชฌงค์เป็นโลกุตตระ. ดังนั้น ในสูตรนี้
ท่านจึงกล่าวโพชฌงค์ว่า เป็นไปในภูมิทั้ง 4.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีความย่อเหตุที่เกิดเรื่อง ก็ในเหตุที่เกิดเรื่อง
ท่านตั้งเรื่องไว้ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุมากรูปนั่งประชุมกันในโรงธรรม ท่านเกิดสนทนาปรารภ
พันธุลมัลลเสนาบดีขึ้นในระหว่าง ดังนี้ว่า อาวุโส ตระกูลชื่อโน้น
เมื่อก่อน ได้มีหมู่ญาติเป็นอันมาก มีสมัครพรรคพวกมาก บัดนี้
มีญาติน้อย มีสมัครพรรคพวกน้อย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบวาระจิต ของภิกษุเหล่านั้น ทรงทราบว่า เมื่อเราไป
(ที่นั้น) จักมีเทศน์กัณฑ์ใหญ่จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ประทับ
นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาตกแต่งไว้ในโรงธรรม แล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมด้วยเรื่องอะไรกัน. พวก
ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องคามนิคมเป็นต้น
อย่างอื่นย่อมไม่มี แต่ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีญาติมาก มีสมัคร